บทที่ 14 การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
14.1 การค้นหาพื้นฐานจากเว็บ Google
การค้นหาหลักของ
Google
ก็คือสามารถค้นหาเว็บเพจที่เกี่ยวกับคำที่เราป้อนลงในช่องค้นหา
ซึ่งสามารถป้อนได้ทั้งคำที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ นอนจากนั้น Google
ยังให้เราสามารถค้นหาไฟล์ภาพที่อยู่ภายในเว็บเพจบนอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราป้อน
ในที่นี้เรามาดูการค้นหาพื้นฐานบน Google ด้วยกัน
14.1.1
ค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ
ให้ป้อนคำที่ต้องการค้นหาลงในช่องว่าง และคลิกที่ปุ่มค้นหา Google จะแสดงรายการของเว็บเพจผลลัพธ์ด้านล่าง
พร้อมรายละเอียดเบื้องต้นของเว็บเพจนั้น
ที่เราสามารถเลือกคลิกเพื่อเข้าไปชมหน้าเว็บเพจนั้นๆ ได้ทันที ดังนี้
14.1.2 ค้นหาไฟล์ภาพบนอินเทอร์เน็ต
อีกความสามารถหนึ่งของ Google ก็คือ
การค้นหาไฟล์ภาพในเว็บเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราป้อนลงในช่องค้นหา
โดยผลลัพท์ที่ได้จากการค้นหานั้น Google
จะแสดงไฟล์ภาพขนาดย่อให้เราเห็น พร้อมรายละเอียดของไฟล์ภาพนั้นๆ เช่น ชื่อภาพ
ขนาดไฟล์ภาพ เพื่อให้เราเลือกเปิดดูได้ทันที
2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ
3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา
(ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ ปราสาทหินพิมาย)
4. ภาพทีค้นหาพบ
5. การนำภาพมาใช้งาน
ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as
6. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง
Save
in
7. กำหนดชื่อที่ช่อง
File
Name
8. คลิกปุ่มSave
14.2 เทคนิคการค้นหาใน Google
นอกจากการค้นหาในเบื้องต้นแล้ว
เรายังสามารถใช้เทคนิคต่างๆ
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างเจาะจงยิ่งขึ้น
เช่น ค้นหาโดยเจาะจงประเภทของไฟล์ การใช้คำเชื่องเข้ามากำหนดการค้นหาให้แคบลง
หรือการค้นหาแบบพิเศษ เป็นต้น
14.2.1
ใช้คำเชื่อม AND และ OR ช่วยค้นหา
ในการค้นหาโดยทั่วไป เมื่อเราป้อนคำหลายๆ คำ Google จะทำการค้นหาโดยใช้
AND เชื่อมอยู่ในประโยคเสมอ เช่น เมื่อเราค้นหา Back
to Future เว็บของ Google จะค้นหาแบบ Bank
AND to AND Future (คือค้นหาแบบแยกคำ)
การใช้
OR
คือการให้ Google ค้นหาข้อมูลมากขึ้นจากคำแรก
และคำที่สอง (คือนำผลที่ได้มารวมกัน) วิธีใช้โดยการพิมพ์ OR ด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่คั่นระหว่างคำที่ต้องการ
เช่น
14.2.2
ใช้ “+” ช่วยค้นหาคำที่ถูกละเว้น
Google จะละเว้นคำทั่วๆ ไปบางคำ เพื่อช่วยให้การค้นหาทำได้เร็วขึ้น เข่น คำว่า A,
An, to, the หรือ of และตัวอักษรเดี่ยว
แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้การค้นหาง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย “+” ช่วย โดยนำไปอยู่นำหน้าคำที่ต้องการให้ Google ใช้ในการค้นหาด้วย
เช่น
14.2.3 การค้นหาแบบละเอียด
Google สามารถกำหนดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง
เพื่อให้สามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้ตรงยิ่งขึ้น โดยเลือกใช้ “การค้นหาแบบละเอียด”
(Advanced Search) เช่น กำหนดคำเจาะจง
เลือกภาษาเจาะจงสำหรับหน้าเว็บที่จะค้นหา กำหนดชนิดของไฟล์ที่จะค้นหา
หรือค้นหาหน้าเว็บเพจเฉพาะภายในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งเท่านั้นก็ได้ ดังรูป
14.2.4 ตัดคำที่ไม่ต้องการค้นหาออก
Google
สามารถตัดคำพ้องรูปได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย "_" โดยการนำไปอยู่ที่คำที่จะตัด คือ
ให้ค้นหาผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำๆ นั้น เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลาและดนตรี
เราจะตัดคำที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออก โดยพิมพ์คำว่า “bass-music” หมายความว่า ค้นหาเว็บเพจที่มีคำว่า bass โดยไม่มีคำว่า
music เป็นต้น
พิมพ์ ว่า “bass-music” หมายความว่า ค้นหาเว็บเพจที่มีคำว่า ว่า bass โดยไม่มีคำว่า
ว่า music
14.2.5 ค้นหาโดยกำหนดประเภทของไฟล์
ความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์มากก็คือ
เราสามารถใช้ Google ค้นหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆ
ที่ไม่ใช้หน้าเว็บเพจ HTML ได้ โดยประเภทของไฟล์ที่ Google
รับรองก็คือ
.pdf ไฟล์เอกสาร Adobe
Acrobat Reader
.ps ไฟล์เอกสาร Adobe
PostScript
.xls ไฟล์สเปรดชีท Microsoft
Excel
.ppt ไฟล์นำเสนอ Microsoft
PowerPoint
.doc ไฟล์เอกสาร Microsoft
Word
.wri ไฟล์เอกสาร Microsoft
Write
.rtf ไฟล์เอกสาร Rich Text
Format
.txt ไฟล์เอกสาร Text File
14.2.6 ให้ Google
ช่วยแปลภาษาบนเว็บ
Google สามารถแปลเว็บภาษา
Italian, French, Spanish, German และ Portuguese เป็นภาษาอังกฤษได้ โดยคลิกที่คำว่า “Translate this page”
บริเวณด้านข้างของชื่อเว็บที่ค้นหาได้โดยสามารถนี้ต้องใช้การค้นหาจากเว็บ https://www.google.co.th/ เท่านั้น
14.2.7
ให้ Google ค้นหาหน้าเว็บที่คล้ายกัน
Google สามารถค้นหาหน้าเว็บที่คล้ายกัน
(Similar pages) โดยคลิกเมาส์ที่ Similar pages หรือ “หน้าเว็บที่คล้ายกัน” โดย Google จะค้นหาและแสดงหน้าเว็บที่คล้ายกันภายในเว็บไซต์นั้นๆ
14.3 แนะนำเว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ
ในปัจจุบันมี
Search
Site มากมาย ทั้งที่เป็น Search Site หลักๆ
ไปจนถึง Search Site ที่เจาะจง เช่น Search Site ข้อมูลธุรกิจ โดยต่อไปนี้เป็นรายชื่อที่เป็น Search Site หลักต่างๆ ที่เราควรลงทะเบียนเว็บของเราไว้
1. เว็บใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากเว็บ(Search
Engines)
http://www.sanook.com สนุกดอทคอม ของไทย
http://www.msn.com Microsoft
http://www.altavista.com Altavista
altavista
Blog Search Engines
http://www.blogdigger.com/index.html
ค้นการข้อมูลจากบล็อกต่างประเทศ
http://www.ysearchblog.com/
ค้นการข้อมูลจากบล็อกต่างประเทศ
http://www.keng.com/
แนะนำการใช้บล็อกไทย
2. เว็บแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
ไอที-ไกด์ :: สาระพันความรู้ด้านไอที
สำหรับผู้ต้องการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
http://www.icthousekeeper.com
ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมสกัดเว็บไม่เหมาะสม
http://www.siamdev.com/ สยามพัฒนา ความรู้ด้านไอที
สำหรับผู้ต้องการเรียนรู้
และพัฒนาตนเอง
http://www.pawoot.com/แนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
http://www.siamdev.com/แนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
http://www.sanambin.com/แนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
http://www.ruen.com/แนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
http://www.tosdn.com/
แนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
http://www.it-guides.com/
ข้อแนะนำการใช้ไอที่
http://www.sansukhtml.com/
สอนการใช้เว็บ
http://www.thaimisc.com/index2.php
ให้บริการ การสร้างเว็บ
http://www.thaiadmin.org/tamain.php
เว็บผู้ดูแลระบบ บทความไอที
http://www.netthailand.com/eduindex.html
แนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์
3. เว็บการศึกษา
3.1 หน่วยงานการศึกษา
http://www.moe.go.th กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.bic.moe.go.th/
เว็บสำนักสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ แนะนำทุนการศึกษา
และการฝึกอบรม สำหรับข้าราชการ และนักเรียนนักศึกษา ทดสอบTOEFLตัวอย่างได้ฟรี
http://www.nfe.go.th
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.
http://www.moc.moe.go.th
ศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศกระทรวงศึกษาธิการ
http://www.moe.go.th/idea/สถาบันพัฒนาครูผู้บริหารและคณาจารย์ทางการศึกษา
http://www.sema.go.th อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเยาวชน
http://www.obec.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www.mis.moe.go.th175
สืบค้นเว็บเขตพื้นที่การศึกษาและสถาบันการศึกษา
สืบค้นเว็บสถานการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)
http://gpa.moe.go.th/
ศูนย์จีพีเอของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www2.obec.go.th/obecstudent/ มุมนักเรียน
http://www.onec.go.th สำนักงานสภาการศึกษา รวมบทความงานวิจัยการศึกษา
http://www.mua.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
http://www.vec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
http://www.moe.go.th/websm/news-online.htm
สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.ksp.or.th/mainpage/index.php
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
http://www.otep.go.th/mainpage/index.php
สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดีภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.ipst.ac.th/home.asp สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.)
http://www.itd.or.th/
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
http://www.niets.or.th/
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
http://www.school.net.th/ เข้าศึกษาบทเรียนที่น่าสนใจได้หลากหลายวิชา
กระทรวงศึกษาธิการ
คลังสื่อการเรียนรู้ของเมืองไทย เพื่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง ฯลฯ
http://www.li.mahidol.ac.th/
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
http://library.tu.ac.th/cms/index.php
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.4 โอนย้ายไฟล์ข้อมูลด้วย FTP
FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ
upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory
ใน Server FTP (File Transfer Protocol) เป็นมาตรฐานในการถ่ายโอนไฟล์
และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP มีประโยชน์มากสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่อง
ลูก (FTP Client) กับเครื่องที่เป็นเครื่องให้บริการ (FTP
Server) โดยเครื่องFTP Client อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่วไปส่วนเครื่อง
FTP Server ก็อาจจะเป็นเครื่อง PC ธรรมดาจนถึงเครื่องที่มีสมรรถภาพสูง
FTP (File Transfer Protocol) เป็นระบบโอนย้ายไฟล์ข้ามระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความปลอดภัยพอสมควร โดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล การเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องแนะนำตนเองต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัส ผ่าน จากนั้นจะแสดงชื่อโฟล์เดอร์และชื่อไฟล์ที่มีอยู่ออกมา ความสามารถของ FTP ทำให้ไคลเอนต์โอนย้ายไฟล์ ระหว่างไคลเอนต์ และ FTP Server ได้ รวมทั้งระหว่างเครื่องสองเครื่องที่อยู่ห่างไกลกัน
FTP เป็นโปรโตคอลที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องสร้างช่องทางสื่อสารในระดับ TCP ถึงสองช่องทาง โดยช่องหนึ่งสำหรับโอนถ่ายข้อมูลและอีกหนึ่งใช้ส่งคำสั่ง เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีตัวแปลโปรโตคอล (PI: Protocol Interpreter) สำหรับทำหน้าที่แปลและดำเนินงานตามคำสั่งของ FTP นอกจากนี้ยังต้องมีโมดูล โดนย้ายข้อมูลที่เรียกว่า DT (Data Transfer ) มารับผิดชอบจัดการกับข้อมูล ทั้ง PI ได้ โดยเรียกใช้ Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet ใหม่ทั้งหมดเอง คำสั่งของ FTP
FTP (File Transfer Protocal) คือ มาตรฐานที่กำหนดใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลหรือการ Upload / Download ข้อมูลบน Internet ครับ โดยเราจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า FTP Client มาช่วยในการ Upload / Download ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Server เช่น โปรแกรม CuteFTP, WS_FTP ฯลฯ
FTP (File Transfer Protocol) คือการถ่ายโอนไฟล์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่าน เครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากแม่ข่ายมายังเครื่องพีซี หรือเครื่องพีซีไปแม่ข่ายหรือระหว่างแม่ข่ายด้วยกันเอง การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลอาศัยโปรแกรมหนึ่งที่มีการใช้ งานกันมากและมีบริการอยู่ในโฮสต์แทบทุกเครื่อง คือ โปรแกรม FTP
FTP มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร
ใน โลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันมากในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้าน การตลาด การบริหาร การจัดการ และด้านที่ขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน คือ ด้านการสื่อสาร ซึ่งแต่ละธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดต่อสื่อสารภายในหรือระหว่างบริษัท ซึ่ง FTPมีส่วนช่วยอย่างมากในการสื่อสารต่างๆ FTP จะช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น แต่ละบริษัทหรือหน่วยงานสามารถมีข้อมูลมากมายหลายรูปแบบที่ต้องการสื่อสารไป ยังแหล่งอื่น หรือแม้แต่ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ เช่น ข้อมูลข่าวสารประจำวัน บทความ ข้อมูลทางสถิติ ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การจะเดินทางไปเอาข้อมูลต่างๆ เองก็ถือเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ในเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือแล้ว FTP จะเป็นตัวช่วยให้การได้รับข้อมูลเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพียงอยู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้ FTP ในการโอนข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่อนุญาต ให้ใช้ได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นแหล่งบริการ FTP ซึ่งมักเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆอยู่มาก และเปิดบริการทั่วไป เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปใช้บริการคัดลอกแฟ้มข้อมูล
ต่างๆ มาใช้งาน
FTP (File Transfer Protocol) เป็นระบบโอนย้ายไฟล์ข้ามระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความปลอดภัยพอสมควร โดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล การเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องแนะนำตนเองต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัส ผ่าน จากนั้นจะแสดงชื่อโฟล์เดอร์และชื่อไฟล์ที่มีอยู่ออกมา ความสามารถของ FTP ทำให้ไคลเอนต์โอนย้ายไฟล์ ระหว่างไคลเอนต์ และ FTP Server ได้ รวมทั้งระหว่างเครื่องสองเครื่องที่อยู่ห่างไกลกัน
FTP เป็นโปรโตคอลที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องสร้างช่องทางสื่อสารในระดับ TCP ถึงสองช่องทาง โดยช่องหนึ่งสำหรับโอนถ่ายข้อมูลและอีกหนึ่งใช้ส่งคำสั่ง เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีตัวแปลโปรโตคอล (PI: Protocol Interpreter) สำหรับทำหน้าที่แปลและดำเนินงานตามคำสั่งของ FTP นอกจากนี้ยังต้องมีโมดูล โดนย้ายข้อมูลที่เรียกว่า DT (Data Transfer ) มารับผิดชอบจัดการกับข้อมูล ทั้ง PI ได้ โดยเรียกใช้ Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet ใหม่ทั้งหมดเอง คำสั่งของ FTP
FTP (File Transfer Protocal) คือ มาตรฐานที่กำหนดใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลหรือการ Upload / Download ข้อมูลบน Internet ครับ โดยเราจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า FTP Client มาช่วยในการ Upload / Download ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Server เช่น โปรแกรม CuteFTP, WS_FTP ฯลฯ
FTP (File Transfer Protocol) คือการถ่ายโอนไฟล์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่าน เครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากแม่ข่ายมายังเครื่องพีซี หรือเครื่องพีซีไปแม่ข่ายหรือระหว่างแม่ข่ายด้วยกันเอง การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลอาศัยโปรแกรมหนึ่งที่มีการใช้ งานกันมากและมีบริการอยู่ในโฮสต์แทบทุกเครื่อง คือ โปรแกรม FTP
FTP มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร
ใน โลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันมากในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้าน การตลาด การบริหาร การจัดการ และด้านที่ขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน คือ ด้านการสื่อสาร ซึ่งแต่ละธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดต่อสื่อสารภายในหรือระหว่างบริษัท ซึ่ง FTPมีส่วนช่วยอย่างมากในการสื่อสารต่างๆ FTP จะช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น แต่ละบริษัทหรือหน่วยงานสามารถมีข้อมูลมากมายหลายรูปแบบที่ต้องการสื่อสารไป ยังแหล่งอื่น หรือแม้แต่ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ เช่น ข้อมูลข่าวสารประจำวัน บทความ ข้อมูลทางสถิติ ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การจะเดินทางไปเอาข้อมูลต่างๆ เองก็ถือเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ในเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือแล้ว FTP จะเป็นตัวช่วยให้การได้รับข้อมูลเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพียงอยู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้ FTP ในการโอนข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่อนุญาต ให้ใช้ได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นแหล่งบริการ FTP ซึ่งมักเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆอยู่มาก และเปิดบริการทั่วไป เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปใช้บริการคัดลอกแฟ้มข้อมูล
ต่างๆ มาใช้งาน
วิธีการทำงานของ
FTP
Ftp ทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร (Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection - Oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทาง และต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้
ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ
Ftp ทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร (Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection - Oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทาง และต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้
ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ
• ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจาก ไคลเอนต์แล้วไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์
• ข้อมูลคำสั่ง (Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้สั่งงานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรีในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ get ใช้โหลดไฟล์มาที่เครื่องไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในของ FTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้าย ซึ่งก็คือผลการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆ โดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่จะรับส่งนี้เป็นประเภทคำสั่ง ไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการจะโอนย้าย การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP ที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol Interpreter Module หรือ PI) ซึ่งทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล (Data Transfer หรือ DT) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ทั้งในเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์
ส่วน Shareware หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตแจกให้ลองไปใช้ดูก่อน และเมื่อใช้แล้วพอใจจะนำไปใช้จริงก็ค่อยส่งเงินมาชำระทีหลัง ถ้าไม่นำไปใช้จริงก็ไม่ต้องส่งเงินมาชำระ ผู้ผลิต Freeware และ ผู้ผลิต Shareware จะทำการส่งซอฟต์แวร์ของตนเองที่ต้องการแจกจ่ายไปไว้ที่คอมพิวเตอร์ที่เป็น ftp server และใครก็ตามที่สนใจจะลองนำไปซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตไปใช้ดูก็ให้ไปทำการ download จากคอมพิวเตอร์ที่เป็น ftp server เครื่องนั้นมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ในบางกรณีถ้าท่านมีข้อมูลที่น่าสนใจและต้องการเผยแพร่ ท่านก็สามารถส่งข้อมูลนั้นไปไว้ที่ ftp server ได้
14.5 ความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับอีเมล์
ก่อนที่เราจะส่งอีเมล์ฉบับแลก
มีสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนเพื่อจะส่งอีเมล์ได้อย่างถูกต้องและไปถึงผู้รับถูกคน
เช่นเดียวกับการส่งจดหมายธรรมดาที่จะต้องมีการระบุที่อยู่ผู้รับ
เมื่อเราต้องการส่งอีเมล์ เราต้องทราบอีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ของผูที่เราต้องการส่ง อีเมล์แอดเดรสนั้นอาจดูเหมือนว่ายาก
แต่ที่จริงแล้วง่ายมากทีเดียว
ให้เราพิจารณาอีเมล์โดยแบ่งเป็น
2
ส่วน
● ส่วนแรกคือ
ชื่อผู้ใช้ ( user name )
● ส่วนที่สองคือ
ตำแหน่งของผู้ใช้ (Location)
14.5.1
การสมัครขอใช้บริการอีเมล์ฟรี
ขั้นตอนการสมัครอีเมล์
(E-mail) ในที่นี้ใช้ Hotmail
- สามารถกดที่รูปเพื่อขยายเท่าขนาดจริงได้
1.เปิดโปรแกรมเบราเซอร์ที่มีขึ้นมา
2.ทำการพิมพ์คำว่า
www.hotmail.com ลงไปในช่องด้านบน
3.กดปุ่ม Sign
up now เพื่อลงทะเบียน
4.กรอกข้อมูลให้ครบและถูกต้องทุกช่อง
5.กรอกข้อมูลให้ครบและถูกต้องทุกช่อง
6.เสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัครอีเมล์
14.5.2 เริ่มต้นใช้อีเมล์
อีเมล์ (ชื่อย่อของ
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวกในการติดต่อกับผู้อื่น
คุณสามารถใช้อีเมล์ในการ
·
ส่งและรับข้อความ คุณ สามารถส่งข้อความอีเมล์ไปให้บุคคลใดก็ได้ที่มีที่อยู่อีเมล์ข้อความนั้นจะเข้าไปอยู่ในกล่องอีเมล์ขาเข้าของผู้รับภายในไม่กี่วินาทีหรือ
ไม่กี่นาที ไม่ว่าเขาหรือเธอจะเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่หลังถัดไป หรือใครก็ตามที่อยู่ไกลถึงครึ่งค่อนโลก
คุณสามารถรับข้อความจากบุคคลใดก็ตามที่ทราบที่อยู่อีเมล์ของคุณ จากนั้นคุณก็อ่านแล้วตอบกลับข้อความเหล่านั้น
·
ส่งและรับแฟ้ม นอกจาก ข้อความอีเมล์ที่เป็นข้อความทั่วไปแล้ว
คุณยังสามารถส่งแฟ้มชนิดใดก็ได้เกือบทุกชนิดในข้อความอีเมล์ รวมทั้งเอกสาร รูปภาพ
และเพลง แฟ้มที่ส่งมาในข้อความอีเมล์เรียกว่า สิ่งที่แนบมา
·
ส่งข้อความไปยังกลุ่มบุคคล
คุณสามารถส่งข้อความอีเมล์ไปให้ผู้รับหลายคนพร้อมกัน
ในขณะที่ผู้รับสามารถตอบกลับไปยังกลุ่มทั้งกลุ่มได้ ซึ่งทำให้เกิดการอภิปรายกลุ่ม
·
ส่งต่อข้อความ เมื่อคุณได้รับข้อความอีเมล์
คุณสามารถส่งต่อไปให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความนั้นใหม่
ข้อดีอย่างหนึ่งของอีเมล์เมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์
หรือจดหมายทั่วไปก็คือความสะดวกในการใช้งาน คุณสามารถส่งข้อความในเวลาใดก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ถ้าผู้รับไม่อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือไม่ได้ ออนไลน์ (เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต)
ในขณะที่คุณส่งข้อความ ผู้รับจะพบอีเมล์รออยู่ในเวลาต่อมาที่ตรวจสอบอีเมล์ ในกรณีที่ผู้รับออนไลน์อยู่
คุณอาจได้รับการตอบกลับภายในไม่กี่นาที
นอกจากนี้ การส่งอีเมล์ยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ด้วย ซึ่งต่างกับการส่งจดหมายทั่วไป เพราะการส่งอีเมล์ไม่จำเป็นต้องมีแสตมป์หรือเสียค่าธรรมเนียม
และไม่ต้องกังวลว่าผู้รับจะอยู่ที่ใด ค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายมีเพียงค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือ
โปรแกรมอีเมล์บางโปรแกรมเท่านั้น
14.5.3
การสร้างและการส่งข้อความอีเมล์
ข้อความอีเมล์ตัวอย่าง
ต่อไปนี้คือวิธีการใส่ข้อมูลลงในหน้าต่างข้อความ
ของโปรแกรมอีเมล์ส่วนใหญ่ ขั้นตอนเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรแกรมอีเมล์หรือบริการบนเว็บที่คุณกำลังใช้งาน
- ในช่อง ถึง พิมพ์ที่อยู่อีเมล์ของผู้รับอย่างน้อยหนึ่งราย ในกรณีที่คุณกำลังจะส่งข้อความไปยังผู้รับหลายราย ให้พิมพ์เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างที่อยู่อีเมล์
ในช่อง
สำเนาถึง คุณสามารถพิมพ์ที่อยู่อีเมล์ของผู้รับลำดับที่สอง ซึ่งก็คือบุคคลที่ควรทราบเกี่ยวกับข้อความอีเมล์นั้น
แต่ไม่จำเป็นต้องกระทำการใดๆ เกี่ยวกับอีเมล์นั้น ผู้รับลำดับที่สองจะรับข้อความเดียวกับที่บุคคลในช่อง
ถึง ได้รับ ถ้าไม่มีผู้รับลำดับที่สอง ให้ปล่อยให้ช่องนั้นว่างไว้ โปรแกรมอีเมล์บางโปรแกรมยังมีเขตข้อมูล
สำเนาลับถึง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถส่งข้อความไปยังบุคคลต่างๆ
โดยซ่อนชื่อและที่อยู่อีเมล์ที่ระบุไม่ให้ผู้รับอื่นๆ เห็นได้
- ในช่อง เรื่อง ให้พิมพ์ชื่อเรื่องสำหรับข้อความของคุณ
- ส่วนในพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ ให้พิมพ์ข้อความของคุณ
เมื่อต้องการแนบแฟ้มไปกับข้อความ
ให้คลิกปุ่ม แนบแฟ้ม
บนแถบเครื่องมือ (อยู่ด้านล่างของแถบเมนู)
ให้ค้นหาแฟ้มที่ต้องการจะแนบ เลือกแฟ้มนั้น แล้วคลิก เปิด ขณะนี้แฟ้มดังกล่าวจะปรากฏในช่อง
แนบ ที่ส่วนหัวของข้อความ

แฟ้มที่แนบไปกับข้อความอีเมล์
คุณทำเสร็จแล้ว!
เมื่อต้องการส่งข้อความ ให้คลิกปุ่ม ส่ง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปยังผู้รับของคุณ
14.5.5
เปิดอ่านอีเมล์
วิธีที่ง่ายที่สุดในการดูข้อความอีเมล์ใน Windows Mail คือการอ่านข้อความในบานหน้าต่าง 'แสดงตัวอย่าง' ซึ่งคุณจะสามารถดูเนื้อหาของข้อความดังกล่าวได้โดยไม่ต้องเปิดข้อความใน
หน้าต่างแยกต่างหาก หรือถ้าคุณต้องการเห็นส่วนที่ใหญ่ขึ้นของข้อความโดยไม่จำเป็นต้องมีการ
เลื่อน คุณสามารถเปิดข้อความในหน้าต่างแยกต่างหากแทนได้
- เปิด Windows Mail โดยการคลิกปุ่ม เริ่ม
คลิก โปรแกรมทั้งหมด แล้วคลิก Windows Mail
- คลิกโฟลเดอร์จดหมาย (เช่น กล่องขาเข้า) ที่มีข้อความที่คุณต้องการอ่าน
- เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เมื่อต้องการดูข้อความในบานหน้าต่าง
'แสดงตัวอย่าง'
ให้คลิกที่ข้อความนั้นในรายการข้อความเมื่อต้องการดูข้อความในหน้าต่างแยกต่างหาก
ให้คลิกสองครั้งที่ข้อความนั้นในรายการข้อความ
การดูโฟลเดอร์ ข้อความ และตัวอย่างใน Windows Mail
14.5.6 เปิดไฟล์ที่มากับอีเมล์หากเราเจอสัญลักษณ์
ข้างซองจดหมายของเรา แสดงว่าเพื่อนเราได้ส่งไฟล์อื่นๆ แนบมาด้วย ให้เราเปิดดูได้ดังนี้
14.5.7 ตอบกลับอีเมล์เราสามารถตอบกลับอีเมล์ที่เปิดอ่านได้ทันที ซึ่ง Windows Live Hotmail จะเปิดหน้าต่างการส่งอีเมล์และระบุหัวข้ออีเมล์สำหรับตอบกลับ พร้อมกลับยกข้อความอีเมล์ที่ได้รับมาไว้เพื่ออ้างอิงด้วย14.5.8 ลบอีเมล์ที่ไม่ต้องการหากอีเมล์ที่เราเปิดอ่านแล้ว ไม่ได้เป็นเนื้อหาที่สำคัญ หรือเป็นอีเมล์ที่มาจากผู้ส่งนิรนามอาจเป็นไวรัสเข้ามา เราควรลบทิ้ง เพราะจะช่วยประหยัดพื้นทึกช่องรับอีเมล์ของเราประโยชน์ของอีเมล์1. มีความสะดวกรวดเร็ว
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ไม่จำกัดระยะทาง
4. ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล
5. ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไม่ว่าจะตอนไหนก็ส่งได้ทุกเวลา
6. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างหลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น